ทำประกันแล้วเคลมได้จริงหรือ?

    ทำประกันแล้วเคลมได้จริงหรือ?


เคยมั้ยที่ทำประกันไปแล้วแต่ยังมีความสงสัยว่า ทำประกัน แล้วเคลมได้จริงหรือ?  






เรื่องเคลมประกันเป็นปัญหา และเป็นข้อกังวลใจของใคร หลายๆคนที่ได้ทำประกันแล้ว และอีกหลายคนที่ยังไม่เคยทำประกัน เป็นเหตุให้พาลไม่อยากทำประกัน และเกลียดประกันไปเลย ถึงขนาดไม่อยากเจอตัวแทนขายประกัน

แต่ทั้งหมดที่เคยเป็นข่าว หรือเรื่องเล่าขาน ต่อๆกันมาในแง่ลบต่างๆ หลากหลายสาเหตุ มักมีเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ ที่ทำให้การเคลม หรือเรียกร้องสินไหมแล้วได้รับการปฏิเสธ จากบริษัทประกันภัย

วันนี้..ถ้าท่านได้มีโอกาสเจอตัวแทนมืออาชีพที่ขายประกันทุกชนิดมากว่า 20ปี นี้แล้ว เราจะบอกทริคหรือเทคนิคง่ายๆในการทำประกันเพื่อให้เคลมได้แบบที่ทางบริษัทประกันจะไม่สามารถปฏิเสธท่านได้

วันนี้ขอแชร์เรื่องการทำประกันทั่วไปกันก่อน โดยเฉพาะประกันสุขภาพ 

ประกันสุขภาพ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีข้อถกเถียงและตกเป็นข่าวมากมายที่ทำให้หลายท่านกลัว
แต่วันนี้ เราจะมาบอกท่าน และขอให้ท่านปฏิบัติตาม ดังต่อไปนี้

  • 🔺  แถลงข้อมูลตามความเป็นเป็นจริง 
  • 🔺  ก่อนทำประกันเป็นโรคอะไรมาก่อนบ้าง
  • 🔺  เคยตรวจ- รักษา ที่โรงพยาบาลไหนบ้าง
  • 🔺  คนใกล้ชิดเช่นพ่อแม่พี่น้อง มีใครเป็นโรคร้ายแรงบ้าง
  • 🔺  ปัจจุบันกำลังรักษาโรคที่เป็นอยู่หรือไม่    

หลังจากที่เราแถลงตามความเป็นจริงไปแล้ว ในใบคำขอเอาประกันภัย ( ใบสมัครทำประกันภัย)  เราต้องตระหนัก อย่างหนึงด้วยว่า การรับประกันภัยในกรมธรรม์ จะรับประกันในสิ่งที่เป็นปัจจุบัน 

ความหมายคือ บริษัทจะรับประกันสุขภาพของท่านในวันนี้ ที่บริษัทรับนั้นสุขภาพของท่านเป็นแบบไหน มีตำหนิตรงไหน ตรงนั้นจะไม่สามารถเคลมได้ เพราะท่านมีประวัติสุขภาพแล้วอยู่กับร.พ. เช่นเคยรักษา หรือกำลังรับการรักษาอยู่ด้วยโรคความดันโลหิตสูง บริษัทฯก็จะไม่คุ้มครองในส่วนนี้ ตลอดจน โรคต่อเนื่องจากความดันโลหิตสูง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง แต่ทั้งนี้ สุขภาพแต่ละคนจะมีเงื่อนไขต่างกัน ในรายละเอียด อาจจะต้องขอประวัติการรักษาเพิ่มเติมจากโรงพยาบาลเพื่อให้บริษัทประกันภัย พิจารณาก่อนอนุมัติรับประกันด้วยทุกครั้ง ซึ่งสิ่งนี้เป็นหลักปฏิบัติทั่วไปของฝ่ายพิจารณาของทุกบริษัทประกันภัย


หลังจากที่บริษัทประกันภัย อนุมัติ รับประกันให้เราแล้ว และออกกรมธรรม์เป็นสัญญาให้เราแล้ว จะมีเงื่อนไขของเวลารับประกันสุขภาพ อีก 2-3 เรื่อง เราเรียกว่า*ระยะเวลารอคอย*( Waiting Period)

ศัพท์อีกคำคือ ระยะเวลารอคอย ( Waiting Period) หมายถึง ระยะเวลาที่ทางบริษัทประกันภัยจะยังไม่คุ้มครองจนกว่าจะพ้นระยะเวลาที่เขากำหนดจึงจะคุ้มครอง ดังต่อไปนี้ 
  1. ระยะเวลารอคอย 30วัน  หลังจากที่กรมธรรม์อนุมัติ จึงจะใช้สิทธิ์ในการเคลมได้  ทุกโรค ยกเว้น โรคที่มีระยะเวลารอคอย 120 วัน    
  2. โรคที่มีระยะเวลารอคอย 120  วัน ความหมายคือ หลังจากที่กรมธรรม์อนุมัติไปแล้ว 120 วัน จึงจะใช้สิทธิ์ในการเคลมได้ สำหรับโรคมีดังต่อไปนี้ คือ                                                                                                                                                                                                                          
                                                           
  • เนื้องอก ถุงน้ำ หรือ มะเร็งทุกชนิด
  • ริดสีดวงทวาร
  • ไส้เลื่อนทุกชนิด
  • ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก
  • การตัดทอลซิล หรืออดีนอยด์
  • นิ่วทุกชนิด
  • เส้นเลือดขอด
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่                                                                                                                

ระยะเวลารอคอย หลักๆ จะมีประมาณนี้ แต่จะมีเพิ่มสำหรับประกันโรคร้ายแรง เช่นมะเร็ง บางบริษัทอาจจะมีระยะเวลารอคอย 90 วัน  หรือ 180 วัน ( รายละเอียดตรงนี้ ควรจะต้องอ่านในกรมธรรม์ หรือสอบถามจากตัวแทนที่ขาย/ บริการ ท่านอยู่ )


หลังจากที่ท่านถือกรมธรรม์เลยระยเวลารอคอยแล้ว และ มีเหตุบังเอิญที่ทำให้เราเจ็บป่วย ไม่สบาย จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล คราวนี้ มาลองดูกันว่า เราจะต้องทำอย่างไรบ้าง ถึงจะเคลมได้


  1. เตรียมบัตรประชาชน เพื่อยืนยันตัวตนว่าเราชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน ตรงตามในกรมธรรม์
  2. เตรียมบัตรประกัน หรือ Care Card ที่ทางบริษัทประกันภัยออกให้ เพื่อดูหมายเลขกรมธรรม์  ( ถ้าไม่ได้พกมาด้วย ให้ติดต่อตัวแทน เพื่อขอเลขกรมธรรม์ เพื่อแจ้งให้ทางโรงพยาบาลทราบ ) เพื่อทางโรงพยาบาลจะได้ทราบสิทธิในกรมธรรม์ ว่าเรามีสิทธิ เบิกค่ารักษาพยาบาลในวงเงินเท่าไร
  3. หลังจากจบสิ้นการรักษา ถ้าโรงพยาบาลเป็นคู่สัญญากับบริษัทประกันภัย จะเป็นเรื่องที่สะดวกมากเนื่องจากผู้เอาประกันสามารถใช้สิทธิ์ FAX Claim ได้ทันที โดยไม่ต้องสำรองเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน ซึ่งทางโรงพยาบาลจะเคลียร์เงินค่ารักษากันเองกับบริษัทประกันภัย โดยเราอาจจะต้องจ่ายค่าส่วนต่างถ้าค่ารักษาครั้งนั้นเกินวงเงินที่เราได้ซื้อไว้
แต่ในกรณีที่โรงพยาบาลที่เราเข้ารับการรักษาไม่ใช่โรงพยาบาลคู่สัญญากับบริษัทประกันภัย เช่น เป็นโรงพยาบาลของรัฐ ดังนั้น เราจำเป็นต้องออกค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดไปก่อน แล้วจึงค่อยนำเอกสารการเคลมทั้งหมดส่งให้ทางตัวแทนของบริษัทประกันภัยพิจารณาจ่ายค่าสินไหม (เคลม) ออกมาให้เรา  ซึ่งขั้นตอนนี้ อาจจะใช้เวลาพอสมควร ขึ้นอยู่กับ ว่าเราได้จัดการรวบรวมเอกสารได้ครบถ้วน เร็ว หรือช้า  โดยเอกสารส่วนใหญ่ หลักๆที่ใช้มีดังต่อไปนี้                                                       


 แบบฟอร์มเรียกร้องสินไหม ใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์
 รายละเอียดยาที่ใช้ระหว่างการรักษา
 ฟิล์ม X-ray ( ถ้ามี) สำเนาบัตรประชาชน ประวัติการรักษา เอกสารอื่นๆ ที่จำเป็น
เอกสารที่ไฮไลต์ คือเอกสารจำเป็นในการเรียกร้องสินไหม

จริงอยู่ ที่เราในฐานะ ผู้เอาประกัน ถึงเวลาที่ต้องเรียกร้องสิทธิ์จากการที่ได้ทำประกันไว้
แต่เราอย่าลืมหน้าที่ด้วยที่เราในฐานะ ผู้เอาประกันและ ผู้ป่วย จำเป็นต้องส่งมอบ เอกสารต่างๆที่จำเป็นเพื่อเรียกร้องสิทธิ์นั้น 
เช่นเดียวกัน 
บางครั้งเราอาจจะคิดไปว่า ทำประกันแล้ว บริษัทประกันก็ทำเรื่องเคลมให้ฉันสิ
แต่อย่าลืมว่า ข้อมูลส่วนบุคคลที่เราเป้นโรคประจำตัว นั้นๆ ทางโรงพยาบาลมิอาจให้ข้อมูลออกไปได้ ถ้าท่านมิได้ทำเรื่องยินยอม ซึ่งกฎหมายใหม่ในเรื่องการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลนั้น มีผลบังคับใช้แล้ว 
ดังนั้น ทางโรงพยาบาล จะไม่กล้าเสี่ยงที่จะให้ข้อมูลของคนไข้ รายใดก็ตามหลุดรอดออกไป โดยที่เจ้าตัวไม่ยินยอม
ดังนั้น สิทธิ และหน้าที่ จึงต้องมีมาคู่กันเสมอ มิฉะนั้น การเคลม หรือการเรียกร้องสินไหม จะไม่อาจเกิดขึ้นได้ 

เมื่อท่านได้ทราบข้อมูลคร่าวๆดังนี้แล้ว จึงอยากจะขอสรุป ตอนท้ายว่า
ประกันสุขภาพ มิใช่ว่าควรทำตอนที่ท่านไม่มีสวัสดิการที่ใด 
แต่ประกันสุขภาพ ควรทำควบคู่กันไป และ ควรทำตอนที่ท่านมีสุขภาพดี
เพราะมิใช่ว่า พร้อมมีเงินแล้วค่อยทำ แต่ ถ้าสุขภาพไม่พร้อมทำ บริษัทประกันก็ไม่พร้อมรับ เช่นเดียวกัน

มีเรื่องเคลมที่ต้องการปรึกษาติดต่อ ที่นี่

ด้วยความปรารถนาดี
จาก
Wealth Insure
ติดต่อเราได้ที่
724wealthinsure@gmail.com
รฐา หลายศิธาภัค
โทร 094-5522-645
Line ID: noi-rata

0 ความคิดเห็น